ค้นหาข้อมูล
กรณีศึกษาการวิเคราะห์swotบริษัทFord (Thailand)
47342 view
 Post Date:  2011-06-11 03:13:53

Case Study : Ford (Thailand)

นศ.สุพจน์ ระเบียบ

ประวัติโดยย่อของกิจการ

ฟอร์ดมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” และฟอร์ดตั้งใจที่จะเพิ่มการผลิตขึ้นอีกเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้าแต่การดำเนินการในช่วงเริ่มแรกนั้นไม่ราบเรียบเท่าใดนัก
ในปี 2503 ฟอร์ดได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในเวลานั้นบริษัท ไทย มอเตอร์ อินดัสทรี ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างแองโกล-ไทย มอเตอร์ส กับ ฟอร์ด ยู.เค. และบริษัทนี้ก็เริ่มทำงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์อย่างรวดเร็ว ต่อในปี 2516 ได้มีการจัดตั้งกิจการร่วมทุนดังกล่าวเป็นบริษัทลูกของฟอร์ดในชื่อของ ฟอร์ด ประเทศไทย แต่บริษัทนี้ยุติการดำเนินการในปี 2519
แต่ฟอร์ดยังคงไม่ละทิ้งความพยายามโดยรุกตลาดไทยอีกครั้งหนึ่งในปี 2538 พร้อมการก่อตั้ง บริษัท ออโด อลิอันซ์ จำกัด ขึ้นซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ออโต อลิอันซ มีฟอร์ดเป็นเจ้าของร่วม (ร้อยละ 48) มาสดา (ร้อยละ 45) เคพีเอ็น (ร้อยละ 2) และเอสเอ็มซี (ร้อยละ 5) โรงงานดังกล่าวเป็นการลงทุนมูลค่า 500 ล้าดอลลาร์ และมีหน้าที่หลักในการผลิตรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ และ มาสดา ไฟท์เตอร์ บี-ซีรีส์
บริษัท ฟอร์ด เซลส์ & เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฏาคม ปี 2539 และบริหารงานโดยบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ในสหรัฐอเมริการซึ่งถือหุ้นทั้งหมดและรับผิดชอบด้านกิจกรรมการตลาดทั้งหมดของฟอร์ดในประเทศไทยตลอดจนควบคุมการจัดจำหน่ายทั่วประเทศส่งผลให้ฟอร์ดสามารถศึกษาความต้องการของลูกค้าชาวไทย เพื่อให้เจ้าของรถฟอร์ดชาวไทยได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากรถยนต์ฟอร์ด ตลอดจนตัวแทนจำหน่ายและบริการในประเทศไทยทุกรายผ่านการคัดเลือกเป็นอย่างดีแล้วว่าคุณสมบัติครบถ้วนเพื่อให้ยริษัทสามารถนำความถึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าได้ตามเป้าประสงค์
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2541 ออโต อลิอันซ์ (ประเทศไทย) ได้เปิดตัวรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่โรงงานผลิตแห่งใหม่ในจังหวัดระยอง โดยคาดไว้ว่าจะมีการผลิตรถรุ่นนี้ 130,000 คันต่อปี แยกเปนรถยนต์ที่ประกอบสำเร้จ 100,00 คันและชุดชิ้นส่วนอีก 30,000 ชุดสำหรับส่งออกไปโรงงานประกอบแห่งอื่นๆ
จากนี้ต่อไปฟอร์ด ไทยแลนด์ จะริเริ่มการคิดค้นพัฒนาที่สำคัญ ทำการลงทุนอย่างต่อเนื่องและร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคม ฟอร์ดเป็นผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีแก๊สโซฮอล์ของโลก และบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยก็กำลังพยายามเพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทยในอนาคตเพื่อประโยชน์ของลูกค้าฟอร์ดในประเทศไทย

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ทอม บริวเออร์ “ฟอร์ดต้องการสร้างรากฐานที่มั่นคง”
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ทำไมยักษ์ใหญ่อย่าง “ฟอร์ด” จึงยักไม่ประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์เมืองไทย เมื่อเทียบกับยักษ์จากญี่ปุ่น ที่โกยยอดขายและส่วนแบ่งตลาดเข้ากระเป๋ากันถ้วนหน้า แม้ว่าที่ผ่านมาฟอร์ดจะเป็นผู้นำนวัตกรรมใหม่ๆ ในตลาดนี้ก็ตาม
“ประชาชาติธุรกิจ” ได้สัมภาษณ์พิเศษ “ทอม บริวเออร์” ประธานฟอร์ด ประเทศไทย ถึงกลยุทธ์และสถานการณ์จริงในเรื่องนี้
- สถานการณ์ของฟอร์ดในปัจจุบัน
แม้ว่าภาพรวมในตลาดรถยนต์ในปีนี้จะตกลง แต่สำหรับฟอร์ดแล้วเราได้แชร์เท่า
ปีที่แล้ว ซึ่งต่างกับบริษัทรถยนต์รายอื่นๆ ที่ยอดขายตกลง และส่วนแบ่งการตลาดก็ตกลงไปด้วย ในด้านของแบรนด์นั้น เราได้มีการทำวิจัยผลปรากฏว่า หลังจากเปิดตัวแคมเปญ “ให้ทุกวันเป็นวันของเรา” ทำให้เราเติบโตสูงสุดในด้านความเชื่อมั่นและการรับรู้ใน แบรนด์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอย่างล้นหลายที่คนชื่นชอบในตัว แบรนด์ฟอร์ดสูงขึ้น
ในด้านความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้านั้นทราบว่า ทางฮุนไดที่จะเข้ามาทำตลาดรถยนต์ในเมืองไทยอีกครั้ง เตรียมใช้กลยุทธ์ เรดคาร์เปด หรือปูพรมแดง ในการให้บริการกับลูกค้า ซึ่งในปีที่แล้วผู้นำในตลาดรถยนต์เมืองไทยที่ประกาศว่า สิ่งที่จะเน้นในปีนี้คือ เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า เช่นกัน แต่สำหรับเราปรากฏว่า ในแง่ความพึงพอใจนี้ เราทำได้ดีที่สุดจากลูกค้าโดยเฉพาะบริการหลังการขาย
“ผมเชื่อมั่นว่า ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นรากฐานของธุรกิจรถยนต์ ถ้าลูกค้ารักเราก็จะกลับมาซื้อเราอีก
- หมายความว่าจะเน้นเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า
เรามุ่งเน้นไปที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นรากฐานสำคัญ โดยเฉพาะในด้านของ
ดีลเลอร์เน็ตเวิร์ก ก็พยายามจะเน้นรูปแบบการทำงานที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจของลูค้าได้ และในเรื่องอินโนเวชั่น มาร์เก็ตติ้ง ที่เป็นรูปแบบการตลาดใหม่ๆ ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ซึ่งเราได้จัดแคมเปญกล้าทำนี้ขึ้น เพื่อให้คนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ได้มีโอกาสมาทดลองขับรถเราก่อน
ทั้งหมดนี้เราต้องการรักษาลูกค้าไว้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริการทั้งก่อนและหลังการขาย ถ้าลูกค้าพอใจทุกอย่างที่ได้สัมผัส ก็จะกลับมาใช้รถเรา พูดถึงเรื่องของยอดขายกับแชร์นั้นถือเป็นเอาต์พุด ซึ่งผมไม่อยากจะเน้นว่าเป็นเท่าไหร่ ผมเน้นการสร้างฐานทางธุรกิจ สร้างความพึงพอใจของลูกค้า ให้ดีลเลอร์อยู่และมีกำไรได้ ถ้าอินพุตถูกต้อง เอาต์พุต ก้จะตามมาเอง ในบราซิลนั้น โตโยต้ามิแชร์แค่ 2% แต่ฟอร์ดมีแชร์ 12% เพราะโตโยต้าเข้ามาทำตลาดทีหลัง เห็นได้ว่าในเรื่องนี้ต้องใช้เวลาที่เขาต้องใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์และสร้างฐานลูกค้า สร้างความเชื่อมั่น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไหนก็ต้องใช้เวลา
- ในด้านการสื่อสารกับผู้บริโภค
ตอนนี้เรามีการทำ 3 เทียร์ คือ เทียร์แรก ทำเรื่องยี่ห้อ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่ชื่นชอบมากขึ้น เทียร์ที่ 2 คือ การค้าปลีก คิดทำโปรโมชั้นรูปแบบใหม่ๆ ที่จะให้คนซื้อฟอร์ดได้อย่างไร เทียร์ที่ 3 คือ ซื้อรถฟอร์ดวันที่ที่โชว์รูม โดยการทำกิจกรรมที่โชว์รูมโดยตรง ซึ่งทั้ง 3 เทียร์นั้น ดีลเลอร์มีส่วนในการตัดสินใจร่วมคิดด้วย ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ สร้างแบรนด์ฟอร์ด เพื่อให้เกิดความชื่นชอบในฟอร์ด และดึงดูดความสนใจของลูกค้า
การลงทุนของฟอร์ดในอนาคตของประเทศไทย

ฟอร์ดลงทุน 500 ล้านดอลลาร์ใน 6 บริษัทใหม่ในประเทศไทย
บริษัท ออโต อลิอันซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2543 ฟอร์ดเปิดตัวฟอร์ด เลเซอร์ และมาสดา 323 ซึ่งผลิตโดยออโต อลิอันซ์ในตลาดประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีการผลิตรถรุ่นนี้ 130,000 คันต่อปี แยกเป็นรถยนต์ที่ประกอบสำเร็จ 100,000 คันสำหรับจำหน่ายในประเทศไทยและตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอื่นๆ และชุดชิ้นส่วนอีก 30,000 ชุดสำหรับส่องออกไปโรงงานประกอบแห่งอื่นๆ ออโต อลิอันซ์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทร่วมทุนกับมาสด้าและพันธมิตรอื่นๆ ในประเทศไทย
บริษัท ฟอร์ด เซลส์ & เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด รับผิดชอบด้านการกำเนินกิจการรมการตลาดและการจำหน่ายทั้งหมดของฟอร์ดในประเทศไทย เพื่อผลักด้นให้ฟอร์ดสามารถนประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถยนต์อันยอดเยี่ยมมามอบให้แก่ลูกค้าชาวไทย ฟอร์ดเปิดตัวโปรแกรมบริการ “2000” ของฟอร์ดเพื่อเสริมการดำเนินการของศูนย์บริการลูกค้า โดยให้บริการสายด่วนในกรุงเทพฯ และให้ลูกค้าจากทุกจังหวัดโทรศัพท์ติ่ดต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจอกจากนี้บริการดังกล่าวยังมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ซึ่งดำเนินการโดยตัวแทนจำหน่ายอีกด้วย และยังมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการลบริการใหม่ขึ้นเพื่อบรรลุซึ่งมาตรฐานการบริการอันยอดเยี่ยม โดยฟอร์ดมีตัวแทนจำหน่ายมากกว่า 90 รายและจำมีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2539 เป็นองค์กรสนับสนุนสำหรับบริษัทในเครือฟอร์ดในประเทศไทยและสนับสนุนกิจกรรมที่ได้รับการเลือกสรรแล้วในภูมิภาคนี้
บริษัท พริมัส ลีสซิง จำกัด ก่อตั้งโดยฟอร์ด เครดิต ในปี 2539 ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ครบวงจรแก่ตัวแทนจำหน่ายของฟอร์ดและมาสดาและลูกค้ารายย่อยในประเทศไทย
บริษัท บีควิก เซอร์วิส จำกัด ให้บริการด้านระบบห้ามล้อ แชสซีส์ และคลัชท์ ยาง แบตเตอรี และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันสำหรับรถยนต์ทุกยี่ห้อ
บรัท ฮัลลา ไคลเมต คอนโทรล ไทยแลนด์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2539 เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ หม้อน้ำและอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน โดบฟอร์ดถือหุ้นร้อยละ 40 และมันโด (เอชซีซี) จากเกาหลีอีกร้อยละ 60

การวิเคราะห์สถานการณ์
(Scenario Analysis)

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) เป็นสิ่งที่บอกให้รู้หรือมองถึงอนาคต การ
สำรวจและการเตรียมการสำหรับอนาคต ดังนั้นผู้จัดทำจึง แบ่งวิเคราะห์สถานการณ์ เป็น 2 แนวทาง ดังนี้
1. ผลกระทบที่เกิดจากภายนอก (Macro Environment Force)
1.1 การเมือง (Political)
จากสภาพการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งและเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยเต็มตัวในอนาคตจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการปกครองประเทศ อันที่เสียงส่วนใหญ่จากประชาชนเป็นผู้ตัดสิน และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะส่งผลต่ออำนาจการตัดสินใจซื้อและลงทุน ในอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ เพิ่มมากขึ้น จนเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาด
1.2 เศรษฐกิจ (Economic)
สภาพเศรษฐกิจของไทยในอนาคตจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับที่ค่อนข้างช้าจากการที่น้ำมันมาคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน
ในอุตสาหกรรมรถยนต์จะแปรผันตามสภาพเศรษฐกิจ คือ อัตราการบริโภคจะสูงขึ้นอย่างช้า ๆ และผู้บริโภคฉะนั้นการใช้แก๊สมากกว่าการใช้น้ำมัน
1.3 สังคม-วัฒนธรรม (Social & Culture)
จากแนวโน้มด้านสังคม-วัฒนธรรม การบริโภคสินค้าด้านรถยนต์จะ
พบว่าในอนาคตจะเป็นการวัดกันด้วยการบริการและราคาสินค้า มากกว่า ความนิยมกับแบรนด์ในอดีต ทำให้ตลาดเปิดกว้างกับทุกค่าย
1.4 เทคโนโลยี (Tecnology)
กระบวนการผลิต รูปลักษณ์ และการใช้งานเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อ
สินค้าในอนาคตสินค้ารถยนต์ที่มีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากกว่าจะเป็นผู้นำในการจำหน่ายสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น GPRS , GRS , ระบบป้องกันขโมย ,เทคโนโลยีในรถยนต์ , ระบบเบรก , ช่วงล่าง เป็นต้น
2. ผลกระทบที่เกิดจากภายใน (Micro Environment Force)
2.1 ด้านความต้องการของตลาด (Market Demand)
- รถยนต์ต้องราคาต่ำและประหยัดน้ำมันสูง
2.2 ด้านการวิเคราะห์เชิงผลิตภัณฑ์ (Retail Products Inputs)
- สินค้าต้องมีคุณภาพและบริการเหนือคู่แข่ง
2.3 ด้านธุรกิจในภูมิภาค (Regional Retail Issues)
- อัตราการบริโภค แปรผันตามสภาพเศรษฐกิจ

2.4 กฎเกณฑ์ที่มียอดผลกระทบต่อธุรกิจ (Industry Regulation)
- ภาษีการนำเข้ารถยนต์สูงขึ้น ทำให้การบริโภคสินค้าที่ผลิตในปะเทศมากขึ้นด้วย
- การแข่งขันด้านต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตจะลดลงเนื่องจากมี “ธุรกิจต้นน้ำภายในประเทศ” ส่งผลให้ราคารถยนต์จะถูกลง
2.5 โครงสร้างอุตสาหกรรม (Industry Structure)
- มีการขยายโครงสร้างด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการขยายฐานการผลิต
2.6 จุดยืนของผู้ถือหุ้น (Stakeholder)
- ราคาหุ้นมีแนวโน้มในทิศทางบวก ทำให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจและลงทุนอย่างต่อเนื่อง
2.7 เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industry Tecnology)
- เป็นเทคโนโลยีของเครื่องจักรสำหรับการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบ เพื่อลดต้นทุนแรงงาน ในระยะยาว

การประเมินองค์กรและผลกระทบ
(SWOT ANALYSIS)
การประเมินองค์กรและผลกระทบ เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร คือ จุดแข็ง กับ จุดอ่อน และผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร คือ โอกาส กับอุปสรรค โดยใช้หลัก 5M’s ในการประกอบการวิเคราะห์ ดังนี้

1. Man (บุคลากร)
- จุดแข็ง
บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย มีการนำบุคคลากรด้านการบริหารจากต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์สูง และมีความสามารถมาบริหารงานในประเทศไทย ทำให้เกิดศักยภาพสูง
- จุดด้อย
อาจเกิดการซื้อตัวบุคคลากรที่มีศักยภาพ โดยบริษัทคู่แข่ง ที่มีส่วยแบ่งในตลาดสูงกว่า
- โอกาส
มีการส่งพนักงานที่มีความรู้ความสามรถเข้าทำงาน โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพจากทีม HR ทำให้ได้บุคคลกรที่มีศักยภาพสูงเข้าทำงาน
- อุปสรรค
บุคลากรด้านการบริหารไม่มีความชำนาญเฉพาะด้านยานยนต์ เช่น ฟอร์ด ดึงผู้บริหารจากวงการไอที คุณพัชรี พันธุมโน มาดูแลแบรนด์ รถยนต์นั่ง เป็นต้น
2. Money (เงิน)
- จุดแข็ง
บริษัทมีเงินทุนมาก สามารถลงทุนในการขยายธุรกิจและก่อตั้งบริษัทในเครือ เพื่อส่งเสริมการดำเนินการธุรกิจหลักได้
- จุดอ่อน
จากการที่ ฟอร์ด มียอดขายที่ไม่ชัดเจนแน่นอน ส่งผลให้ผลกำไรและเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับมีความใม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ถือหุ้นไม่อยากลงทุนกับฟอร์ด และขายหุ้นออกไปทำให้ราคาหุ้นตกลงได้
- โอกาส
ฟอร์ด เพิ่มการลงทุนในสินค้าและบริการที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เช่น บริษัทเงินทุนสำหรับกู้ซื้อรถยนต์ , บริษัท ประกันภัย รถยนต์ , ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวส่งเสริมการขายอีกอย่างหนึ่ง
- อุปสรรค
จากสภาพเศรษฐกิจที่เลวร้ายและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ยอดขายลดลง และราคาหุ้นตกลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อการเงินของฟอร์ด

 


3. Meterials (วัตถุดิบ)
- จุดแข็ง
เนื่องจากฟอร์ด เป็นแบรนด์ที่มีขนาดใหญ่ในโลก ทำให้การจัดซื้อวัตถุดิบ จากซัพพลายเออร์ ที่ปริมาณมากส่งผลต่อราคาวัตถุดิบต่ำลงด้วย เช่นกัน (แบรนด์ในเครือฟอร์ด ได้แก่ วอลโว่ แลนโลเกอร์ สินคอล์น เมอร์คิรี่ จากัวร์และแอสตัน มาร์ติน
- จุดอ่อน
การเป็นตลาดผู้ตาม (อีซูซุกับโตโยต้า) ทำให้การยอมรับในตัวสินค้า (ในประเทศไทย) มีน้อย ผู้บริโภคไม่สนใจในคุณภาพวัตถุดิบเท่าที่ควร
- โอกาส
การที่ ฟอร์ด เป็นที่ยอมรับในยุโรป ในด้านคุณภาพอยู่แล้วทำให้ได้รับการยอมรับด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตามไปด้วย จึงพยายามสร้านแบรนด์แห่งคุณภาพสินค้าในทุก ๆ ด้าน
- อุปสรรค
ไม่มีโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำของตนเอง ทำให้ราคาวัตถุดิบเหล็กสูง
4. Mamagement (การจัดการ)
- จุดแข็ง
องค์กรมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายชัดเจน โดยทีมงานบริหารมืออาชีพ จากต่างประเทศ มีการวางกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ที่เป็นเชิงรุก เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน และใช้ คนไทย บริหารงานในประเทศไทยเป็นส่วนย่อย
- จุดอ่อน
การบริหารจัดการที่มีผู้บริหารหลายฝ่ายแบ่งตามกลุ่มของการจัดการสินค้ารูปแบบต่างๆ กัน ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้าและวางแผนกลยุทธ์ ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ในทุกลุ่มสินค้า
- โอกาส
การให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านการจัดการบุคลากร ให้การอบรมและอำนาจการตัดสินใจจะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ
- อุปสรรค
จากสภาพเศรษฐกิจทำให้การจัดการด้านการเงินพบกับปัญหา โดยเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้สภาพการเงินของฟอร์ด ย่ำแย่ลงไปด้วย
5. Maketing (การตลาด)
- จุดแข็ง
ด้านผลิตภัณฑ์-ฟอร์ดจะแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้านวัตกรรมและความ
น่าสนใจ
ด้านการบริการที่เปี่ยมคุณภาพ-โดยฟอร์ดจะมุ่งที่ความพึงพอใจของลูกค้า
สูงสุด และสามารถเครืองข่ายการขายไปพร้อมกับการขยายตลาดใหม่ๆ


- จุดอ่อน
การที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่าคู่แข็ง และการเข้ามาในตลาดที่หลัง ทำให้
การแทรกเข้าสู้ส่วนแบ่งตลาดได้ค่อนข้างลำบาก
- โอกาส
มีการรุกตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลาง โดยเน้นที่ 3 กลยุทธ์ หลัก คือ
1. Great Produet เน้นคุณภาพและสมถนะ
2. Great Price มีวัตกรรมและราคาคุ้มค่า
3. Great Service มอบความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า
- อุปสรรค
ผลกระทบจากดำเนินงานและราคาน้ำมันทำให้ยอดขายลดลงและการที่คู่แข่ง
มีจุดเร้าในด้านการเป็นผู้นำเทคโนโลยี ประหยัดน้ำมัน ส่งผลต่อยอดขายและส่วนแบ่งตลาด

สรุปการทำ SWOT ANGLYAIS ด้วยหลัก 5 M’s

แนวคิดการดูจุดที่มั่น (Position)

 

 

 

จากการวิเคราะห์ SWOT นำมาหาจุดที่มั่นของฟอร์ด ได้ดังนี้

จากภาพแสดงให้เห็นตำแหน่งของ ฟอร์ดประเทศไทย อยู่ในตำแหน่ง “รุก
ไปข้างหน้า” (S+O) นั่นคือ องค์กรมีขีดสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งเป็นส่วนใหญ่ และสภาพแวดล้อมภายนอกมีโอกาสที่จะส่งผลในเชิงบวกเป็นอย่างมาก ดังนั้น องค์กรที่อยู่ในตำแหน่งนี้ควรวาง “กลยุทธ์เชิงรุก”


ข้อเสนอแนะ

จากการวิเคราะห์ SWOT Analysis ทำให้มีที่ฟอร์ม ประเทศไทย ต้องพัฒนา ดังนี้
1. สร้างการยอมรับในตัวสินค้า
2. ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด
3. พัฒนาคุณภาพและบริการ อย่างต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน

เอกสารอ้างอิง

ดร.ดนัย เทียนพุฒ; เอกสารการเรียนการสอน การบริหารกลยุทธ์ (Stratagy Management)

ฟอร์ด ประเทศไทย ; เอกสารเผยแพร่ www.ford.co.th

หนังสือพิมพ์ยวดยาน : knowledge ฉบับที่ 154 ประจำเดือน ตุลาคม 2548 ISSN 1686-4719

รศ. ธนากร เกียรติบันลือ ผอ.สำนักหอสมุดกลาง สจพ.; เรื่องคุณภาพการบริการ
http://library.kmitnb.ac.th/journal.

 

หมายเหตุ

การจัดทำกรณีศึกษาของ นศ. MBA ม.ธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "งานวิเคราะห์ธุรกิจ "
เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ใช้ในการประกอบการเรียน ซึงความเห็นหรือแนวทางในการวิเคราะห์เป็นแค่เพียงหลักการและการแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้ในการประกอบการเรียนเท่านั้น
ที่มา:

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dnt&month=08-2008&date=24&group=40&gblog=35

 

tag : การวิเคราะห์swot , ตัวอย่างการวิเคราะห์swot ,กรณีศึกษาการวิเคราะห์swot, ตัวอย่างการวิเคราะห์swotบริษัท,การวิเคราะห์swotบริษัท,ตัวอย่างการวิเคราะห์swotบริษัท,swotคืออะไร,ความหมายของswot,swotหมายถึงอะไร,บริษัทกรณ๊ศึกษาการวิเคราะห์swot